ปรับเป้าผลิตรถยนต์ ปี 67 ขายในประเทศลดลง เหลือ 550,000 คัน

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย ตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ในปี พ.ศ. 2567 (ใหม่) โดยปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 2567 จาก 1,900,000 คันเป็น 1,700,000 คัน ลดลง 200,000 คัน โดยปรับเป้าเฉพาะผลิตขายในประเทศลดลงจาก 750,000 คันเป็น 550,000 คัน เนื่องจาก

เต็นท์รถชะลอรับซื้อ EV มือสอง หลังราคาลงแรงขายออกยาก

สงครามราคารถ EV ทุบตลาดรถมือสอง ยอดขายวูบ คนชะลอการซื้อ

ไทยยังคงเผชิญ ปัจจัยลบของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง คือ

  • หนี้ครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 90 ของ GDP ประเทศในขณะที่รายได้ครัวเรือนยังต่ำจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำ
  • การลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังลดลงมาหลายเดือนแล้ว คนงานมีรายได้ลดลง ประชาชนระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น
  • หน่วยงานเศรษฐกิจหลายแห่งลดการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยลง
  • สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์โดยเฉพาะรถกระบะ
  • จำนวนแรงงานวัยทำงานน้อยกว่าเพื่อนบ้านจากอัตราการเกิดต่ำ จะทำให้นักลงทุนลังเลในการลงทุนเพราะเป็นสังคมสูงอายุ

ส่วน ปัจจัยบวกของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง

  • รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายและการลงทุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี2567
  • งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 เบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะทำให้รัฐบาลใช้จ่ายและลงทุนรวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามนโยบาย
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติและการส่งออกยังเติบโตชึ่งจะช่วยให้ภาคอุตสากรรมผลิตได้มากขึ้น คนงานมีรายได้มากขึ้น
  • ความขัดแย้งระหว่างประเทศไม่ขยายตัวหรือเพิ่มขึ้นอีกในแห่งอื่นของโลกซึ่งจะส่งผลถึงการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วน
  • ธนาคารกลางสหรัฐอาจลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีนี้ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยได้ ภาระของลูกหนี้อาจลดลงซึ่งจะช่วยให้มีอำนาจซื้อมากขึ้น
  • คาดหวังว่าจะมีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นจากการเดินทางไปชักชวนนักลงทุนรายใหญ่ๆตั้งแต่ปีที่แล้วซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศเติบโต หนี้ครัวเรือนจะได้ลดลง
  • เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชดเชยอัตรา 1:1ของรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจำหน่ายในปี 2565 - 2566

ปัจจัยลบของการคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกเท่าเดิม

  • สงครามการค้าและสงครามยูเครนกับรัสเซียและสงครามอิสราเอลกับฮามาสอาจบานปลาย
  • การเพิ่มการเข้มงวดในการควบคุมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐอเมริกาอาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์
  • ถ้าเศรษฐกิจจีนโตในอัตราต่ำจะส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศในเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับสองรองจากตลาดออสเตรเลีย

ปัจจัยบวกของการคาดการณ์ยอดผลิตเพื่อส่งออกเท่าเดิม

  • ยอดขายรถยนต์ของประเทศคู่ค้ายังเติบโต
  • คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะลดอัตราดอกเบี้ยลง
  • เศรษฐกิจของประเทศจีนที่ยังเติบโตส่งผลดีต่อประเทศในเอเชียที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของรถยนต์ที่ไทยส่งออก

ขณะที่ จำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2567 พบว่า ผลิตรถยนต์ 116,289 คัน ลดลง  20.11% ขาย 47,662 คัน ลดลง  26.04% ส่งออก 89,071 คัน เพิ่มขึ้น 0.28% ขาย 47,662 คัน ลดลง  26.04% ส่งออก 89,071 คัน เพิ่มขึ้น  0.28% ขายรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 5,360 คัน ลดลง  16.38%

อย่างไรก็ตาม คาดว่ายอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของครึ่งปีหลังปี 2567 จะดีขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และ 2568 ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นของรัฐบาล

2024-07-25T08:10:34Z dg43tfdfdgfd