แพ็กแบตเตอรี่ขนาดเล็ก พกพาสะดวก ถูกใจ สาวกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า

เป้าหมายของไทย คือ ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งคิดเป็นจำนวน 650,000 คันภายในปี 2030 (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570))

KCAR เปิดบริการ Car Subscription เช่ารถ EV ระยะสั้น เจาะกลุ่มคนอยากลอง

เชลล์-ปอร์เช่ เปิดสถานีชาร์จรถอีวีสมรรถนะสูง 180 กิโลวัตต์ แห่งที่ 2

ขณะที่ปัจจุบัน ผลตอบรับ ผู้ใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้ามีมากขึ้น โดยมีอัตราการเติบโตของยอดขายกว่า 100% ในปีที่ผ่านมา หากเปรียบเทียบรถจักรยานยนต์ที่ผลิตในประเทศกว่า 2 ล้านคันต่อปีนั้นมีสัดส่วนของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าน้อยมาก

ทำให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างการพัฒนารูปแบบ แพ็กแบตเตอรี่แบบสับเปลี่ยนได้ แบบมาตรฐานหรือแพลตฟอร์มของแบตเตอรี่สำหรับใช้งานกับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) 

โดยแพ็กแบตเตอรี่นี้ จะทำให้ผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต การถือครองมอเตอร์ไซค์แพ็กและสถานีประจุไฟฟ้า ส่งผลให้เกิดการใช้งานยานยนต์ที่สะดวกอย่างแพร่หลายและเกิดอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตนเองได้ภายในประเทศ

สำหรับแพ็กแบตเตอรี่ขนาดเล็กแบบสับเปลี่ยนได้ ใช้งานในมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ทั้งด้านขนาด ปลั๊ก การเชื่อมต่อ การสื่อสาร และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการใช้งานในมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าต่างยี่ห้อ ต่างรุ่น และต่างผู้ให้บริการสถานีสับเปลี่ยน 

ต้นแบบแพ็กแบตเตอรี่ 1 รุ่น (รุ่น Swap2) ต้นแบบมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2 รุ่น 2 ยี่ห้อ (ยี่ห้อ GPX และ I-motor) และสถานีชาร์จ 3 สถานี จากผู้ให้บริการต่างกัน (บางจาก/กริดวิซ, กฟผ. และ Beta Energy solution) สำหรับใช้ในการทดสอบข้อกำหนด (ก่อนนำไปพัฒนาต่อเป็นมาตรฐานร่วมในการใช้งงานในประเทศ)

2023-05-25T05:00:58Z dg43tfdfdgfd