ราชกิจจาฯ ประกาศกำหนดเกณฑ์ และวิธีตรวจสอบท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ กรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดเกณฑ์ และวิธีตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์

วันที่ 5 กันยายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ พ.ศ. 2567 ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบุก เรื่อง กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และค่าก๊าซโฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 ไว้แล้วนั้น

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ตามประกาศดังกล่าว ให้เป็นไปตามมาตรฐานของประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด

มาตรฐานค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ พ.ศ. 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันและมาตรฐานอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 13 แห่งกฎกระทรวง กำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 อธิบดีกรมการขนส่งทางบก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบุก เรื่อง กำหนดเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบ ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อ 2 ในประกาศนี้ “รถจักรยานยนต์” หมายความว่า รถจักรยานยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่ขับเคลื่อน โดยใช้แหล่งพลังงานจากเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน และให้หมายความรวมถึงรถจักรยานยนต์ไฮบริด ที่ขับเคลื่อนโดยใช้แหล่งพลังงานจากเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในและแหล่งพลังงานอื่น “เครื่องมือ” หมายความว่า เครื่องที่ทำงานด้วยระบบน็อนดิสเปอร์ซีฟอินฟราเรด (Nondispersive Infrared, NDIR) สำหรับใช้วัดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากท่อไอเสีย

ที่มีช่วงการวัดสูงสุดไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.5 โดยปริมาตร และวัดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซโฮโดรคาร์บอน จากท่อไอเสียที่มีช่วงการวัดไม่น้อยกว่า 10,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ของค่าเทียบเท่านอร์มัลเอ็กเซน (N-Hexane) หรือเครื่องมือระบบอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่า

ข้อ 3 ค่าก๊าซจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนก่อนวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ให้มีเกณฑ์ที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ต้องไม่เกินร้อยละ 4.5 โดยปริมาตรที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ

(2) ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ต้องไม่เกิน 10,000 ส่วนในล้านส่วนที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ

ข้อ 4 ค่าก๊าซจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ให้มีเกณฑ์ที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ต้องไม่เกินร้อยละ 3.5 โดยปริมาตรที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ

(2) ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ต้องไม่เกิน 2,000 ส่วนในล้านส่วนที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ

ข้อ 5 ค่าก๊าซจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ให้มีเกณฑ์ที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ต้องไม่เกินร้อยละ 2.5 โดยปริมาตรที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ

(2) ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ต้องไม่เกิน 1,000 ส่วนในล้านส่วนที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ

ข้อ 6 ค่าก๊าซจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ให้มีเกณฑ์ที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(1) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ต้องไม่เกินร้อยละ 1.5 โดยปริมาตรที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ

(2) ก๊าซไฮโดรคาร์บอน ต้องไม่เกิน 500 ส่วนในล้านส่วนที่วัดได้ด้วยเครื่องมือ

ข้อ 7 ในการใช้เครื่องมือเพื่อตรวจวัดค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และค่าก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ต้องดำเนินการ ดังนี้

(1) ปรับเทียบ (Calibrate) เครื่องมือด้วยก๊าซมาตรฐาน (Standard gas) ตามคู่มือการใช้งาน

ของผู้ผลิตเครื่องมือ เพื่อให้เครื่องมืออ่านค่าได้อย่างถูกต้อง

(2) ทำความสะอาดและเปลี่ยนไส้กรองของเครื่องมือตามที่กำหนดในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตเครื่องมือ

ข้อ 8 วิธีการตรวจวัดค่าก๊าชคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอนจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ ให้กระทำ ดังต่อไปนี้

(1) จอดรถจักรยานยนต์อยู่กับที่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง และเดินเครื่องยนต์จนกระทั่งถึงอุณหภูมิใช้งานปกติก่อนตรวจวัด

(2) ขณะที่เครื่องยนต์เดินเบาให้สอดหัววัด (Probe) ของเครื่องมือเข้าไปในท่อไอเสียให้ลึกที่สุดตามคำแนะนำของผู้ผลิตเครื่องมือในกรณีที่ไม่สามารถสอดหัววัดของเครื่องมือเข้าไปในท่อไอเสียได้ เพราะติดอุปกรณ์ระงับเสียงให้ใช้ท่อพิเศษต่อที่ปลายท่อไอเสียแล้ว จึงสอดหัววัดของเครื่องมือเข้าไปในท่อพิเศษที่เสริมต่อจากปลายท่อไอเสียนั้น

(3) อ่านค่าปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรคาร์บอน เมื่อเครื่องมือแสดงผลคงที่ ในกรณีที่เครื่องมือแสดงผลไม่คงที่ให้ใช้ค่าเฉลี่ยของค่าที่อ่านได้ระหว่าง ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของการวัดครั้งนั้น

(4) ปฏิบัติตาม (2) และ (3) ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

(5) ใช้ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการวัดทั้งสองครั้ง นำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อใช้เป็น

ข้อ 9 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ราชกิจจาฯ ประกาศกำหนดเกณฑ์ และวิธีตรวจสอบท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่

– Website : https://www.prachachat.net

2024-09-05T09:23:18Z dg43tfdfdgfd